TOEFL
 
TOEFL คือ
TOEFL (Test of English as a Foreign Language) เป็นการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกัน ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (ESL Learners) ซึ่งปัจจุบันประเทศต่างๆ กว่า 130 ประเทศ และสถาบันการศึกษากว่า 7,500 แห่งทั่วโลก ใช้ผลคะแนน TOEFL ในการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เข้าสมัครต่างๆ ซึ่งรวมถึงเกือบทุกมหาวิทยาลัยในอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดา ที่ใช้คะแนน TOEFL สำหรับการรับเข้าเรียน และการให้ทุนการศึกษา
 ข้อสอบ TOEFL มีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ TOEFL iBT (Internet-based Format หรือ การสอบผ่านอินเตอร์เน็ต) และ TOEFL PBT (Paper-based หรือ การใช้กระดาษในการทำข้อสอบ) ในปัจจุบัน ประเทศไทยใช้การสอบแบบ TOEFL iBT ทั้งหมด ยกเว้นศูนย์สอบ TOEFL ที่ไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต จะใช้การสอบในรูปแบบของ TOEFL PBT แทน โดยผลคะแนน TOEFL สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปี
การสอบ TOEFL IBT เป็นการสอบทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นการสอบที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียนในการสอบ โดยการสอบในแต่ละส่วนจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ซึ่งการสอบแบบใหม่นี้จะช่วยลบจุดด้อยของนักศึกษาต่างชาติบางคนที่ได้คะแนนสอบดีแต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีอย่างที่ควรเป็น การสอบครั้งใหม่นี้จึงเหมือนการจำลองการเข้าไปศึกษาจริงในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่อาจารย์ผู้สอนได้พูดถึงบทเรียนต่างๆ และการให้การบ้านเพื่อให้ทำรายงานและนำเสนอต่อหน้าอาจารย์ เรียกว่าการสอนในระบบใหม่นี้ไม่ได้ใช้เพียงทักษะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นในการสอบแต่ละส่วนแต่การสอบในแต่ละส่วนในส่วนต้องใช้ทักษะอื่นด้วย เช่น การสอบเขียน ต้องฟังสิ่งสิ่งที่เขาพูด หรือสิ่งที่เขาให้มาตั้งแต่เริ่มสอบจนเข้าใจเสียก่อนที่จะเขียนตอบได้ไม่ใช่ให้เขียนตามโจทย์ที่ให้มาแบบ Essay ในแบบเดิมอีก ซึ่งระบบใหม่ทำให้รับรู้ถึงทักษะทางภาษาอังกฤษของแต่ละคนอย่างแท้จริง
ข้อดีของการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการสอบ คือ ความสะดวกในการสอบเพราะมีศูนย์สอบเพิ่มขึ้น และส่วนการสอบ Speaking นั้นสามารถส่งถึงศูนย์ใหญ่ที่อเมริกาได้ทันที ซึ่งก็หมายถึงการประเมินผลคะแนนจะสะดวกรวดเร็ว และเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด รวมถึง การสมัครสอบ และการรับผลคะแนนแบบออนไลน์นั้นก็ง่ายดายมากขึ้นอีกด้วย
 กฎระเบียบและขั้นตอนในการสอบ TOEFL

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติ ของการสอบนั้น แต่ละศูนย์สอบ จะมีขั้นตอนที่เหมือนกัน เพื่อความยุติธรรม สำหรับผู้เข้าสอบทุกท่าน โดยที่ทุกแห่ง จะมีมาตรฐานเดียวกันหมด ซึ่งเป็นดังต่อไปนี้ 

1. ผู้คุมสอบ หรือเจ้าหน้าที่ จะเป็นผู้กำหนดที่นั่งสอบ ให้แก่ผู้สอบ โดยผู้สอบ จะไม่มีสิทธิ์เลือกที่นั่งสอบเอง 
2. ผู้สอบจะต้องถึงสถานที่สอบ ไม่เกินเวลาที่ระบุไว้ ในบัตรประจำตัวผู้สอบ เพราะหลังจากที่เจ้าหน้าที่ ได้ส่งแบบทดสอบเข้ามาในคอมพิวเตอร์แล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบโดยเด็ดขาด
3. ก่อนจะเข้าสอบต้องมาลงทะเบียน กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่หน้าห้องก่อน โดยการป้อนข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งรหัสผ่านให้ถูกต้อง และถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน เพราะฉะนั้น จะไม่มีการให้ใครมาสอบแทนได้ หลังจากที่ได้เข้าห้องสอบแล้ว จะไม่สามารถออกจากห้องสอบได้อีก และเมื่อการสอบสิ้นสุดลง ต้องนั่งอยู่กับที่ จนกว่าผู้คุมสอบ จะอนุญาต ให้ออกจากห้องสอบได้ 
4. ในระหว่างการสอบ TOEFL จะไม่มีการหยุดพัก แต่จะมีช่วง Break ให้พักผ่อน 5 นาที นอกจากช่วง Break ถ้าผู้เข้าสอบไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ผู้คุมสอบได้แจ้งให้ทราบก่อนการสอบ อาจจะถูกไล่ออกจากห้องสอบ หรือถูกยกเลิกคะแนนสอบได้
5. ทางผู้จัดสอบจะไม่ทำการตรวจให้คะแนน สำหรับการสอบ TOEFL และจะไม่คืนค่าสอบ ให้แก่ผู้ใดในกรณีต่อไปนี้ 
- การพยายามเข้าสอบแทนผู้อื่น
- ได้รับการช่วยเหลือ หรือให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้เข้าสอบท่านอื่น
- ไม่ปฏิบัติตามที่ผู้คุมสอบแนะนำ
- อ่านและทำข้อสอบในส่วนอื่น ในขณะที่อนุญาตให้ทำอีกส่วนหนึ่ง หรือพยายามจะทำ ข้อสอบต่อเมื่อหมดเวลาแล้ว
- นำพจนานุกรม สมุดจด หนังสือ เศษกระดาษ นาฬิกาปลุก โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ เครื่องช่วยฟัง หรืออุปกรณ์ถ่ายภาพใด ๆ เข้าห้องสอบ
- นำบุหรี่ หมากฝรั่ง ลูกอม อาหาร และเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสอบ
- ออกจากห้องสอบโดยไม่ได้รับอนุญาติ
- ทำการจดคำถาม หรือคำตอบหรือคัดลอกสมุดคำถาม
- พยายามโกงการสอบไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม
การสมัครสอบ TOEFL ในประเทศไทย 
 ปัจจุบันการสมัคร
TOEFL เพื่อสอบในประเทศไทย สามารถกระทำได้ดังนี้
1. การสมัครสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ต บนหน้าเว็บไซต์  www.ets.org (ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็ว และ สะดวกที่สุด โดยสามารถสมัครได้ตลอดเวลา ) ต้องสมัครล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน  โดยจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต Visa, Master, หรือ AMEX ทางจดหมาย ส่งไปที่ มาเลเซีย โดยใบสมัครต้องได้รับก่อนวันสอบ อย่างน้อย 4 อาทิตย์
2. การสมัครโดยตรงที่ประเทศมาเลเซีย
โดยแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้
-การใช้บัตรเครดิตและโทรสมัคร 
สำหรับผู้ที่ต้องการสอบที่ศูนย์สอบภายในประเทศไทย ต้องโทรไปที่ Regional Registration Center – RRC ซึ่งประจำอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย อย่างน้อย 3 วันก่อนวันที่ต้องการจะสอบ นอกจากนี้ ผู้สมัครต้องมีข้อมูลของบัตรเครดิตที่ถูกต้อง ของบัตร VISA, MasterCard หรือ American Express จากนั้นผู้สมัคร จะได้รับหมายเลขยืนยันการสมัคร หรือ Appointment Confirmation Number ซึ่งผู้สมัครควรเตรียมจดบันทึกไว้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้สมัครยังต้องตอบคำถามทั่วไป ซึ่งสามารถดูตัวอย่างคำถามได้จากแบบฟอร์มการสมัครสอบนานาชาติ หรือ International Test Scheduling Form

-การกรอกแบบฟอร์มการสมัครสอบนานาชาติ (หรือ International Test Scheduling Form) 
สำหรับผู้ที่ต้องการสอบในประเทศไทย แต่ไม่ต้องการโทรสมัคร สามารถใช้วิธีการกรอกแบบฟอร์มได้ พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต หรือเอกสารการชำระเงินค่าสอบ แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์หรือส่งโทรสารไปยัง RRC ได้ โดยที่ RRC ต้องได้รับเอกสารครบถ้วนและถูกต้องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนวันที่ต้องการสอบวันแรก แต่ถ้าต้องการส่งโทรสารพร้อมรายละเอียดของบัตรเครดิต ต้องส่งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน การกรอกแบบฟอร์มการสมัครสอบนี้ ผู้สมัครสามารถเลือกวันสอบที่ต้องการได้ 5 วัน และเลือกศูนย์สอบสำรองได้อีก 1 แห่ง อย่างไรก็ดี การพิจารณาจัดวันสอบให้กับผู้สมัคร จะให้ความสำคัญกับศูนย์สอบหลักก่อน และพิจารณาจากวันสอบที่เลือกไว้จากอันดับที่ 1 ถึง 5 ตามลำดับ ในกรณีที่ไม่สามารถสำรองที่ให้กับการสอบในวันใดวันหนึ่ง สำหรับศูนย์สอบหลักได้ จึงจะพิจารณาจากศูนย์สอบสำรองที่ได้เลือกได้ โดยพิจารณาจากวันสอบที่เลือกไว้จากอันดับ 1 ถึง 5 ตามลำดับเช่นกัน

 เมื่อสามารถสำรองวันสอบและศูนย์สอบให้กับผู้สมัครได้แล้ว ทาง RRC จะจัดส่งหมายเลขยืนยันการสมัคร วันสอบ เวลารายงานตัว ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์สอบและเอกสารส่วนตัวที่ต้องนำติดตัวไปในวันสอบไปให้ยังผู้สมัครทางโทรสาร ไปรษณีย์หรือ e-mail ในกรณีที่ผู้สมัครยังไม่ได้รับหมายเลขยืนยันการสมัคร สามารถโทรไปตรวจสอบกับ RRC ได้ โดยต้องโทรติดต่ออย่างน้อย 3 วันก่อนวันที่ต้องการสอบวันแรก สำหรับประเทศไทย ผู้ที่ต้องการสอบต้องสมัครล่วงหน้าตามกำหนดเวลา ไม่สามารถเดินเข้าไปสมัครสอบ และเข้าสอบในวันนั้นๆ ได้เหมือนในประเทศสหรัฐอเมริกา
การสอบ TOEFL ในประเทศไทยจะต้องสมัครผ่านสำนักงาน RRC สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีศูนย์ประจำอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย   โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
Regional Registration Center – RRC  (Region 6)
Thomson Prometric
PO Box 12964 
50794 Kuala Lumpur
Malaysia
 Courier Address (ที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร) 
Prometric, B.V. Branch Office 
(Co.No 993721-U)
Suite 21A-15-1, Faber Imperial Court, 
Jalan Suitan Ismail
50250 Kuala Lumpur, Malaysia

Registration Phone: 60-3-7628-3333 
E-mail: 
searrc@thomson.com
 
Fax: 60-3-7628-3366

3.  การสมัครสอบผ่านศูนย์ศึกษาต่อ/ศูนย์ภาษา 
หากผู้สมัครสอบไม่สะดวกที่จะติดต่อสำนักงาน RRC ด้วยตนเอง  สามารถสมัครผ่านศูนย์ศึกษาต่อ AES (Thailand) และศูนย์ภาษา  ดังนี้  
   3.1 ศูนย์เมืองทองธานี ที่บริษัท Abroad Education Services (Thailand) โทร. 0 2574 5669, 0 2574 4079 
   3.2 ศูนย์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริษัท WTC Center โทร.  02-6445563,02-6445561
   หมายเหตุ   ค่าสมัครสอบ 180 ดอลลาร์สหรัฐ  
                 ค่าบริการ 30 ดอลลาร์สหรัฐ

การเข้าสอบ 
ศูนย์สอบ TOEFL แบบ computer-based test ในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่เพียงที่เดียวคือ 
Institute of International Education - Southeast Asia (IIE)
6th Floor, Maneeya Center North
518/3 Ploenchit Road
Pathumwan, Bangkok 10330 
Tel: 0-2652-0653-4 
โดยมีการจัดสอบตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ในแต่ละสัปดาห์ 

หลักฐานที่จะต้องนำไปในวันสอบ 
เมื่อผู้สอบเดินทางไปถึงศูนย์สอบ สำหรับการสอบ TOEFL แบบ computer-based test จะต้องแสดงเอกสารต่างๆ ดังนี้
บัตรประจำตัวอย่างเป็นทางการ ที่มีรูปถ่ายของผู้สอบ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบขับขี่ 
เบอร์ยืนยันการสมัคร ที่ได้รับเมื่อมีการนัดเวลาสอบ
ชื่อสถาบันการศึกษาและคณะที่ต้องการจัดส่งรายงานผลการสอบไปให้ โดยที่ทางศูนย์สอบ จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ code lists ให้เลือก (ถ้ามี) CBT Voucher (ถ้ามี) 
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ TOEFL สามารถดูได้จาก 
www.toefl.org

อัพเดทล่าสุด

25/01/13  Last updated 25/01/13

 

เนื้อหาข้อสอบ TOEFL iBT 

สำหรับการสอบ
TOEFL แบบ IBT จะใช้เวลาสอบประมาณ 4 ชั่วโมง โดยเน้นการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ เพื่อใช้ความรู้ทางภาษาไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูง โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ทักษะ ดังนี้

1. ทักษะการอ่าน (Reading)
เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจของการอ่านในเชิงวิชาการของผู้สอบ โดยผู้สอบต้องตอบคำถามจากบทความ

3 บทความ ในแต่ละบทจะต้องตอบคำถาม 12-15 ข้อ ส่วนนี้ต้องทำข้อสอบรวม 39ข้อใช้เวลา 60 นาที ระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30คะแนน

2. ทักษะการฟัง (Listening)
เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ผู้สอบต้องฟังบทสนทนาในประเด็นทั่วไป

2 เรื่อง และ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน 4 เรื่อง ต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยินแต่ละบทสนทนา และเรื่องที่ได้ฟัง โดยส่วนนี้ต้องทำข้อสอบ 35 ข้อใช้เวลา 60 นาที ระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30คะแนนข้อสอบแบ่งเป็น

Academic Lecture 4 เรื่อง/24 ข้อ 
Campus Conversation 2 เรื่อง/10 ข้อ

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบไปจากเดิมบ้าง เช่น มีการนำสำเนียงอื่นที่ไม่ใช่สำเนียง

American มาทดสอบด้วย

3. ทักษะการเขียน (Writing)
เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการเขียนในเชิงวิชาการ โดยผู้สอบต้องแสดงความสามารถในการใช้ภาษา และการคิดวิเคราะห์ การพัฒนาความคิดในประเด็นที่ได้อ่านจากข้อสอบ

2 ข้อใช้เวลา 55 นาที ระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30คะแนนข้อสอบแบ่งเป็น

คำถามที่ 1
ผู้สอบจะได้อ่านบทความทางวิชาการในเวลาประมาณ 3 นาที และฟังการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง ที่ได้อ่าน จากนั้นผู้สอบต้องสรุปบรรยาย หรือแสดงทรรศนะจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยต้องเขียน 150-220 คำในเวลา 25 นาที

คำถามที่ 2
ผู้สอบจะได้อ่านประโยคสั้นๆ และตอบคำถามโดยการบรรยาย หรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลจากสิ่งที่ ได้อ่าน โดยต้องเขียนอย่างน้อย 300 คำ ในเวลา 30 นาที

4. ทักษะการพูด (Speaking)
เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการพูดภาษาอังกฤษเนื้อหาเชิงวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามด้วยการพูด รวม

6 ข้อ หลังจากอ่านบทความ และการฟังบรรยายในแต่ละประเด็นข้อสอบใช้เวลา 20นาที ระดับ คะแนนจะอยู่ที่ 0-30 คะแนนข้อสอบ โดยแบ่งประเภทของคำถาม ดังนี้

คำถามที่ 1 และ 2 
เป็นเรื่องราวที่ผู้สอบคุ้นเคย อาจเป็นประสบการณ์ หรือทัศนะส่วนตัว มีเวลาในการเตรียม ตอบคำถาม 15 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 45 วินาทีในแต่ละข้อ

คำถามที่ 3 และ 4 
ผู้สอบจะได้อ่านข้อความสั้นๆ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากนั้นจะได้ฟังบทสนทนา หรือการบรรยายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นนั้น ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตอบคำถาม 30 วินาที และตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ

คำถามที่ 5 และ 6
ผู้สอบจะได้ฟังบทสนทนาเพื่อการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ หรือฟังบรรยายทางวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน และฟัง โดยการวิเคราะห์ สรุปข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตัวตอบคำถาม 20 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ

 
 

 
 
 
 
 
Copyright © 2017 Fast English.
All Rights Reserved.
@